4 ขั้นตอน สร้างธุรกิจการสอนให้สำเร็จ
โดยไม่ต้อง Hard Sell และไม่สูญเสียจิตวิญญาณความเป็นครู

สวัสดีครับ ผมกิตติ ไตรรัตน์ นักเดินทางภายใน และที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์สำหรับธุรกิจการสอน
ผมจะช่วยให้คุณไปเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

คุณต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงใช่ไหม?
สวัสดีครับ เพื่อนผู้มีหัวใจความเป็นครู
ผมกิตติ ไตรรัตน์ นักเดินทางภายในและที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์สำหรับธุรกิจการสอน
การ “แบ่งปันและสร้างความเปลี่ยนแปลง” มันสำคัญและมีความหมายอย่างไรกับคุณ?
และการที่คุณตั้งใจกดเข้ามาอ่านบทความนี้ ผมเชื่อว่ามันก็บ่งบอกว่าคุณคือคนหนึ่ง ที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกใบนี้มาก
แต่สิ่งที่หยุดยั้งคุณเอาไว้ ให้ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างได้ นั่นก็คือ ....
คุณคิดว่า...
“ฉันขายไม่เก่ง”
“ฉันขายของไม่ได้”
“ฉันไม่ต้องการเสียจิตวิญญาณของความเป็นครู”
แต่มันคือความเชื่อที่ผิดครับ!
ที่จริงแล้ว ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่การขายหรอก!
เพียงแค่คุณทำตามกลยุทธ์ที่ถูกต้อง “การขาย” จะไม่ใช่ปัญหาของคุณอีกต่อไป เพราะผู้คนจะขอจ่ายเงินให้คุณเอง โดยที่คุณไม่ต้องกดดันให้พวกเขาซื้อ!
Mindset สำคัญ ก่อนวางกลยุทธ์
ก่อนที่จะไปถึงเรื่องขั้นตอนต่าง ๆ มันมี Mindset สำคัญที่คุณต้องเข้าใจก่อนครับ
คุณต้องรู้ก่อนว่าเป้าหมายในการทำธุรกิจการสอน เพื่อสร้าง Impact ของคุณคืออะไร
ถ้าสิ่งที่คุณต้องการนำเสนอ มันเป็นประเด็นที่คนทั่วไปสนใจ หรืออยู่ในกระแสที่ร้อนแรงมาก การสอนของคุณจะสร้าง Impact ในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว
แต่ถ้าสิ่งที่คุณจะนำเสนอ มันไม่ใช่สิ่งที่คนทั่วไปเขาสนใจ ไม่ได้อยู่ในกระแส การสอนของคุณจะไม่ได้ดังเปรี้ยง เป๊ะปัง อย่างที่คุณตั้งใจหรอกครับ
ตัวอย่างง่าย ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ที่คนสนใจเรื่องภาษีอย่างมาก เพราะกังวลเรื่องการจ่ายภาษีตามกฎหมายใหม่
ถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี มีความรู้ความเข้าใจ และมาสอนในสิ่งที่คนต้องการมาก ๆ อยู่แล้ว คุณจะขายได้ง่าย และขายได้เร็ว (แน่นอน คุณต้องมีของที่ดี และมีการนำเสนอที่น่าสนใจควบคู่ด้วย)
แต่ถ้าทั้งโลกกำลังสนใจเรื่องภาษีอยู่นั้นเอง คุณกลับสอนเรื่อง “การดำน้ำลึกในขั้วโลกใต้”

... คนที่เลือกฟังคุณ ก็คงไม่เยอะเท่าคนที่สนใจเรื่องภาษีหรอกจริงไหมครับ?
ดังนั้นคุณต้องรู้ว่าเป้าหมายในการแบ่งปันการสอนของคุณคืออะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร?
เพื่อประเมินได้ว่ากลุ่มคนที่จะสนใจเรื่องนี้มีมากน้อยแค่ไหนด้วย
ไม่ใช่เอะอะก็จะคิดว่า ใช้วิธีการเดียวกันแล้วมันจะเวิร์คและได้ผลเหมือนกันไปซะทุกครั้ง!!
คนกำลังเฝ้ารอและพร้อมควักเงินซื้อสิ่งที่เขาต้องการ แต่เขาแค่ไม่ชอบถูกใครมาบังคับขายในสิ่งที่เขาไม่ต้องการ
เข้าใจนะ!
4 ขั้นตอน สร้างธุรกิจการสอนให้สำเร็จ โดยไม่ต้อง Hard Sell
นี่คือ 4 ขั้นตอนที่กูรูระดับโลก ที่เราเต็มใจจ่ายเงินเพื่อศึกษากับเขาเป็นหมื่นเป็นแสน โดยที่ไม่รู้สึกว่าถูกเขากดดันให้ซื้อใช้
ซึ่งคุณก็สามารถทำได้เช่นกัน…. มาดูกันเลยครับว่ามันมีอะไรบ้าง?
ขั้นที่ 1 - มีข้อเสนอที่ชัดเจน
คุณต้องมีข้อเสนอที่ชัดเจนก่อน และขอเสนอที่ชัดเจนนี้ก็ต้องเป็นข้อเสนอที่ ผู้รับต้องการได้รับ ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการให้
ลองเทียบง่าย ๆ แบบนี้นะครับ ลองอ่านข้อความข้างล่างนี้ แล้วลองเปรียบเทียบดูว่าคุณรู้สึกสนใจเรื่องไหนมากกว่ากันระหว่าง....
1. เทคนิคการเต้นง่าย ๆ ที่บ้าน ที่จะทำให้คุณแข็งแรง และลดน้ำหนักได้ 5 – 10 กิโลฯ ใน 30 วัน
2. เทคนิคการเต้นลีลาสชั้นสูง ที่คนระดับ World Class ทุกคนต้องรู้ เพื่อจะโดดเด่นในการเข้างานสังคม
ใช่ครับ! คุณจะเลือกในสิ่งที่คุณคิดว่าสอดคล้องกับความต้องการของคุณ
และจากตัวอย่าง 2 ข้อนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ข้อเสนอ 1 ดีกว่าข้อเสนอที่ 2
แต่ ข้อเสนอที่ 1 ตรงใจคนที่ต้องการดูแลสุขภาพและลดน้ำหนักมากกว่า ข้อเสนอที่ 2
และข้อเสนอที่ 2 ก็ตรงใจ ของคนที่ต้องการเข้าไปอยู่ในสังคมชั้นสูง มากกว่าข้อเสนอที่ 1
ก็แค่นั้นเอง!!
การที่จะดึงดูดให้คนเข้ามาเรียนกับคุณได้นั้น คุณต้องชัดเจนเสียก่อนว่า.. คุณจะนำเสนออะไร? และนำเสนอมันให้กับใคร?
วิธีสร้างข้อเสนอที่ตรงใจ และทำให้ธุรกิจการสอนของคุณประสบสำเร็จ
ผมสรุปวิธีการสร้างข้อเสนอเป็น 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ครับ
เลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัด
วิเคราะห์ปัญหา
นำเสนอทางแก้
1. เลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
ก่อนที่จะคิดถึงข้อเสนอ คุณต้องคิดว่า..
ใครกันล่ะ ที่คุณจะรู้สึกสนุกที่ได้ช่วยเหลือพวกเขา?
ถ้าคุณไม่อยากทำงานกับคนที่จะทำให้คุณปวดหัว
จนกระทั่งต้องมาเกลียดงานที่คุณรักในภายหลัง
จงเลือกทำงาน กับคนที่จะทำให้คุณได้ทำงานอย่างสนุกครับ
2. วิเคราะห์ปัญหาของพวกเขา
พวกเขามีปัญหาอะไร? และพวกเขาต้องการอะไร?
มันมี 2 วิธีที่คนใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย
สำหรับเครื่องมือในการวิเคราะห์ความการของกลุ่มเป้าหมาย ก็มีดังนี้ครับ
- โทรศัพท์ - ไม่ได้กวนนะครับ แต่การโทรไปพูดคุยกับคนที่มีลักษณะตรงกับกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ของคุณนี้แหละ ที่จะทำให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมามากที่สุด ถามเขาไปเลยว่าเขามีปัญหาอะไร ต้องการการช่วยเหลือในแง่ใดบ้าง
- Survey – การทำแบบสอบถามเพื่อถามกลุ่มเป้าหมายไปตรง ๆ วิธีนี้คุณอาจจะต้องมีของขวัญไปแลกักเล็กน้อย เพื่อจูงใจให้เขาตอบแบบสอบถามของคุณ ข้อควรระวังคือ... อาจมีคนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเข้ามาตอบด้วย ซึ่งอาจทำให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลพลาดไปบ้างเล็กน้อย
- Pantip – Search หาเอาตามห้องต่าง ๆ ใน Pantip ได้เลยครับ เพราะมีคนมากมายมาพิมพ์เพื่อถามคำถามอยู่เป็นประจำ คุณดูว่าคำถามใดที่มีคนให้ความสนใจเยอะ ๆ นั่นก็เป็นสัญญาณบอกว่า คนกำลังสนใจในเรื่องนี้อยู่ และการอ่านกระทู้เหล่านี้ จะทำให้คุณเข้าใจความคิดของผู้คนได้มากขึ้นด้วย
- Buzzumo – เจ้าตัวนี้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่เจ๋งมาก เพียงเราพิมพ์เรื่องที่เราต้องการสอนลงไป มันจะช่วยวิเคราะห์ว่าทั่วโลกตอนนี้ มีคนที่พูดถึงเรื่องนี้ว่าอย่างไรบ้าง และหัวข้อไหนที่ได้รับการสนใจมากที่สุด รวมไปถึงคำถาม ที่คนชอบถามเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าว และด้วยความที่มันวิเคราะห์ได้ละเอียดมาก ๆ มันจึงมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ (แต่แอบกระซิบว่า รุ่นน้องของผมคนนึงเป็น Partner กับ Buzzumo อยู่ ถ้าอยากใช้ในโปรพิเศษทักมาถามได้นะครับ)
เมื่อคุณวิเคราะห์ถึงปัญหาหรือความต้องการของเขาไปแล้ว ก็จะมาถึงขั้นที่ 3 ในการออกแบบข้อเสนอ
3. นำเสนอทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
เมื่อรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร และรู้ว่าปัญหาของเขาคืออะไร ขั้นต่อมาคือการเลือกข้อเสนอที่จะแก้ปัญหาให้กับพวกเขาได้
เพื่อจะพาเขาไปสู่ผลลัพธ์ที่พวกเขาต้องการ
ขั้นตอนที่จะพาเขาไปสู่ทางออกคืออะไร?
เขาต้องมีความรู้อะไรบ้าง?
ให้คุณเขียนขั้นตอนทั้งหมดออกมา เพื่อที่จะร่างเป็นข้อเสนอของคุณ
Tips: สร้างข้อเสนออย่างน้อย 2 ข้อ
เวลาสร้างข้อเสนอ ผมแนะนำให้คุณสร้างข้อเสนออย่างน้อย 2 ข้อเสนอ
โดยเราจะใช้ข้อเสนอที่ 1 ไปใช้ในการดึงดูดผู้คนเข้ามาด้วยความสมัครใจ
และใช้ข้อเสนอที่ 2 เพื่อมอบให้กับคนที่ต้องการเรียนรู้กับคุณให้ลึกลงไปอีก
4. สร้างสินค้าหรือบริการ
พอคุณได้ข้อเสนอเรียบร้อยแล้ว ก็เปลี่ยนข้อเสนอของคุณให้ออกมาเป็นรูปแบบของสินค้าหรือบริการ
โดยคุณสามารถเลือกได้หลากหลายรูปแบบ
เช่น
- Audiobook
- Podcast
- eBook
- หนังสือเป็นเล่ม
- Online Course
- Membership Site
ทีนี้ ข้อเสนอที่ชัดเจนของคุณ ก็พร้อมออกไปทำหน้าที่ดึงดูดคนที่ใช่ขึ้นมาแล้ว
ซึ่งเราจะมาทำให้ข้อเสนอของคุณ มีความน่าสนใจมากขึ้น ด้วยเทคนิคในขั้นที่ 2
Copyright - Kitti Trirat